analyticstracking
ผลสำรวจเรื่อง “ที่สุดแห่งปี 2022 ”
คนไทยส่วนใหญ่ร้อยละ 71.8 เห็นว่าเหตุกราดยิงศูนย์พัฒนาเด็กเล็ก จ.หนองบัวลำภู เป็นข่าวหรือสถานการณ์
ในประเทศ ที่สร้างการจดจำมากที่สุดแห่งปี 2022
โดยบิณฑ์-เอกพันธ์ บรรลือฤทธิ์ เป็นศิลปิน นักแสดง ที่มีจิตอาสาช่วยเหลือสังคมที่สุดแห่งปี 2022
รองลงมาคือ ภาคิน คำวิลัยศักดิ์ (โตโน่)
ลิซ่า blackpink เป็นศิลปิน นักแสดง ที่มีผลงานเป็นที่ประจักษ์สู่สากลที่สุดแห่งปี 2022
รองลงมาคือ ศุกลวัฒน์ คณารศ (เวียร์)
 
 
 
ดีมาก (5)
ดี (4)
ปานกลาง (3)
พอใช้ (2)
แย่ (1)
 
 
                 กรุงเทพโพลล์โดยมหาวิทยาลัยกรุงเทพสำรวจความคิดเห็น
ประชาชนเรื่อง “ที่สุดแห่งปี 2022” โดยเก็บข้อมูลจากประชาชนทั่วประเทศ
จำนวน 1,141 คน พบว่า
 
                  ประชาชนส่วนใหญ่ร้อยละ 71.8 เห็นว่าเหตุกราดยิงศูนย์พัฒนา
เด็กเล็ก จ.หนองบัวลำภู เป็นข่าวหรือสถานการณ์ในประเทศ ที่สร้างการจดจำ
มากที่สุดแห่งปี 2022
รองลงมาคือ ข่าวการเสียชีวิตของนักแสดงชื่อดัง แตงโม นิดา
คิดเป็นร้อยละ 42.3 และสถานการณ์น้ำท่วมหลายพื้นที่ ในประเทศไทย คิดเป็นร้อยละ
34.5
 
                  เมื่อถามว่าได้รับข่าวหรือสถานการณ์ในประเทศ ผ่านช่องทางใด
มากที่สุดในปี 2022 กลุ่มตัวอย่างร้อยละ 45.2 ได้รับผ่านโทรทัศน์
รองลงมาร้อยละ
39.1 ได้รับผ่านสื่อสังคมออนไลน์ เช่น Facebook Twitter Tiktok Line และร้อยละ 13.4
ได้รับผ่าน Youtube
 
                  เมื่อถามถึงผู้มีชื่อเสียง ศิลปิน นักแสดง สร้างสรรค์ประโยชน์ มีจิตอาสาช่วยเหลือสังคมที่สุดแห่งปี
2022 อันดับแรกคือ บิณฑ์-เอกพันธ์ บรรลือฤทธิ์ คิดเป็นร้อยละ 31.4
รองลงมาคือ ภาคิน คำวิลัยศักดิ์ (โตโน่) คิดเป็น
ร้อยละ 20.6 และอาทิวราห์ คงมาลัย (ตูน บอดี้สแลม) คิดเป็นร้อยละ 17.5
 
                  ด้านผู้มีชื่อเสียง ศิลปิน นักแสดง ที่มีผลงานเป็นที่ประจักษ์สู่สากลที่สุดแห่งปี 2022 อันดับแรกคือ
ลลิษา มโนบาล (ลิซ่า blackpink) คิดเป็นร้อยละ 48.3
รองลงมาคือ ศุกลวัฒน์ คณารศ (เวียร์) คิดเป็นร้อยละ 10.7 และ
ดนุภา คณาธีรกุล (มิลลิ) คิดเป็นร้อยละ 10.4
 
 
                  โดยมีรายละเอียดดังต่อไปนี้
 
             1. ข่าวหรือสถานการณ์ในประเทศ ที่สร้างการจดจำมากที่สุดแห่งปี 2022 (5 อันดับแรก)
                  (ตอบได้มากกว่า 1 ข้อ)


 
ร้อยละ
เหตุกราดยิงศูนย์พัฒนาเด็กเล็ก จ.หนองบัวลำภู
71.8
ข่าวการเสียชีวิตของนักแสดงชื่อดัง แตงโม นิดา
42.3
สถานการณ์น้ำท่วมหลายพื้นที่ ในประเทศไทย
34.5
ผลการเลือกตั้งผู้ว่าฯ กทม. ชัชชาติ ได้รับเลือกตั้งเป็นผู้ว่าฯ
33.4
กัญชา กัญชง พ้นยาเสพติด
31.4
หมอกระต่ายถูกตำรวจขี่บิ๊กไบค์ชนบนทางม้าลาย
19.5
 
 
             2. ข้อคำถาม “ได้รับข่าวหรือสถานการณ์ในประเทศ ผ่านช่องทางใดมากที่สุดในปี 2022”

 
ร้อยละ
โทรทัศน์
45.2
สื่อสังคมออนไลน์เช่น Facebook Twitter Tiktok Line
39.1
Youtube
13.4
เว็บไซต์ต่างๆ
1.2
วิทยุ
1.1
 
 
             3. ผู้มีชื่อเสียง ศิลปิน นักแสดง สร้างสรรค์ประโยชน์ มีจิตอาสาช่วยเหลือสังคมที่สุดแห่งปี 2022
                   (5 อันดับแรก)


 
ร้อยละ
บิณฑ์-เอกพันธ์ บรรลือฤทธิ์
31.4
ภาคิน คำวิลัยศักดิ์ (โตโน่)
20.6
อาทิวราห์ คงมาลัย (ตูน บอดี้สแลม)
17.5
ปนัดดา วงศ์ผู้ดี (บุ๋ม ปนัดดา)
10.3
ไดอาน่า จงจินตนาการ (ได๋ ไดอาน่า)
6.2
 
 
             4. ผู้มีชื่อเสียง ศิลปิน นักแสดง ที่มีผลงานเป็นที่ประจักษ์สู่สากลที่สุดแห่งปี 2022
                   (5 อันดับแรก)


 
ร้อยละ
ลลิษา มโนบาล (ลิซ่า blackpink)
48.3
ศุกลวัฒน์ คณารศ (เวียร์)
10.7
ดนุภา คณาธีรกุล (มิลลิ)
10.4
ไปรยา สวนดอกไม้ (ปูไปรยา)
3.0
กันต์พิมุกต์ ภูวกุล (แบมแบม got7)
1.7
 
 
รายละเอียดการสำรวจ
วัตถุประสงค์การสำรวจ:
                  1) เพื่อสะท้อนถึงข่าวหรือสถานการณ์ในประเทศ ที่สร้างการจดจำมากที่สุดแห่งปี 2022
                  2) เพื่อสะท้อนถึงการได้รับข่าวหรือสถานการณ์ในประเทศ ผ่านช่องทางใดมากที่สุดในปี 2022
                  3) เพื่อสะท้อนถึงผู้มีชื่อเสียง ศิลปิน นักแสดง สร้างสรรค์ประโยชน์ มีจิตอาสาช่วยเหลือสังคมที่สุดแห่งปี 2022
                  4) เพื่อสะท้อนถึงผู้มีชื่อเสียง ศิลปิน นักแสดง ที่มีผลงานเป็นที่ประจักษ์สู่สากลที่สุดแห่งปี 2022
 
ประชากรที่สนใจศึกษา:
                  การสำรวจใช้การสุ่มตัวอย่างจากประชาชนทุกภูมิภาคทั่วประเทศ โดยการสุ่มสัมภาษณ์ทางโทรศัพท์
จากฐานข้อมูลของกรุงเทพโพลล์ ด้วยวิธีการสุ่มตัวอย่างแบบง่าย (Simple Random Sampling) แล้วใช้วิธีการถ่วงน้ำหนัก
ด้วยข้อมูลประชากรศาสตร์จากฐานข้อมูลทะเบียนราษฎร์ของกรมการปกครอง กระทรวงมหาดไทย
 
ความคลาดเคลื่อน (Margin of Error):
                  ในการประมาณการขนาดตัวอย่างมีขอบเขตของความคลาดเคลื่อน  3 ที่ระดับความเชื่อมั่น 95%
 
วิธีเก็บรวบรวมข้อมูล:
                  ใช้การสัมภาษณ์ทางโทรศัพท์ (Enumeration by telephone) โดยเครื่องมือที่ใช้ในการเก็บข้อมูล
เป็นแบบสอบถามที่มีโครงสร้างแน่นอนประกอบด้วยข้อคำถามแบบเลือกตอบ (Check List Nominal) จากนั้นจึงนำ
แบบสอบถามทุกชุดมาตรวจสอบความถูกต้องสมบูรณ์ก่อนบันทึกข้อมูลและประมวลผล
 
ระยะเวลาในการเก็บข้อมูล:  : 6 – 9 ธันวาคม 2565
 
วันที่เผยแพร่ผลสำรวจ: 24 ธันวาคม 2565
 
สรุปข้อมูลพื้นฐานของกลุ่มตัวอย่าง:
ตารางข้อมูลประชากรศาสตร์
 
จำนวน
ร้อยละ
เพศ:
   
             ชาย
608
53.3
             หญิง
533
46.7
รวม
1,141
100.0
อายุ:
 
 
             18 – 30 ปี
103
9.0
             31 – 40 ปี
130
11.4
             41 – 50 ปี
297
26.0
             51 – 60 ปี
313
27.5
             61 ปีขึ้นไป
298
26.1
รวม
1,141
100.0
การศึกษา:
 
 
             ต่ำกว่าปริญญาตรี
658
57.7
             ปริญญาตรี
361
31.6
             สูงกว่าปริญญาตรี
122
10.7
รวม
1,141
100.0
อาชีพ:
   
             ลูกจ้างรัฐบาล
127
11.1
             ลูกจ้างเอกชน
212
18.6
             ค้าขาย/ ทำงานส่วนตัว/ เกษตรกร
443
38.7
             เจ้าของกิจการ/ นายจ้าง
82
7.2
             ทำงานให้ครอบครัว
1
0.1
             พ่อบ้าน / แม่บ้าน / เกษียณอายุ
244
21.4
             นักเรียน/ นักศึกษา
20
1.8
             ว่างงาน
12
1.1
รวม
1,141
100.0
 
ติดตามกรุงเทพโพลล์ผ่าน twitter ได้ที่  twitter bangkokpoll
Download PDF file:  
 
ศูนย์วิจัยมหาวิทยาลัยกรุงเทพ (กรุงเทพโพลล์)    โทร. 02-407-3888 ต่อ 2897,2898